วิถีชาวไทยวนที่ยังคงอยู่ แต่มิรู้จะสูญไปเมื่อใด
วัฒนธรรมแต่ละชุมชน ย่อมสะท้อนวิถีชีวิตรากเหง้า
ในอดีตของชุมชนนั้นๆได้อย่างเด่นชัด สืบสาแหรกไปถึงบรรพบุรุษ
ก็อาจจะพอจับเค้าได้ว่า เดิมที่มาของชุมชนนั้นอยู่แห่งหนตำบลใดมาก่อน
หากชุมชนนั้นอยู่ที่เดิมรูปแบบการพัฒนาทางสังคม วัฒนธรรม
ประเพณี ก็อาจจะยังคงรักษาไว้ได้อย่างเหนียวแน่น หรือ ในทางกลับกันด้วยยุคสมัยแห่งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่เต็มไปด้วยพลวัฒน์แห่ง การขับเคลื่อนอย่างรวดเร็วเช่นทุกวันนี้ วัฒนธรรมดั้งเดิมของบรรพบุรุษก็อาจสูญหายและถูกทดแทนด้วยวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ ที่รับจากภายนอกเข้ามา
แต่กระนั้นก็ยังมีชุมชนและชนเผ่าหลายๆแห่งในเมืองไทยที่ปัจจุบันยังคงพยายาม อนุรักษ์สิ่งดีงามทางวัฒนธรรมเอาไว้ให้ลูกหลานจนสุดความสามารถ ดังกรณีของชาว"ไทยวน"(ไท-ยวน) จ.สระบุรี
เรือนไทยที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดี
ไทยวน สระบุรี
ชวนไทยวนเมืองสระบุรี เป็นคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นตัวอย่างของกลุ่มคนที่ยังรักษาวัฒนธรรมของบรรพบุรุษไว้ได้อย่างเหนียวแน่น
ไทยวน สระบุรี เป็นใครมาจากไหน ?
จากอดีตครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โลก ในปีพ.ศ.2347 ได้มีบัญชาให้เจ้าพระยายมราชยกทัพหลวงไปร่วมกับหัวเมืองฝ่ายเหนือ เชียงใหม่ น่าน ลำปางและเวียงจันทน์ จัดทัพเป็น 5 ทัพยกไปตีเมืองเชียงแสนหลังจากล้อมเมืองอยู่ได้ 1-2 เดือน จึงตีเชียงแสนสำเร็จ ได้ทำการเผาทำลายป้อมปราการกำแพงเมืองและกวาดต้อนผู้คนชาวเชียงแสนได้ประมาณ 23,000 คนเศษ
ชาวเชียงแสนส่วนหนึ่งอพยพเข้าไปอยู่ในเชียงใหม่น่าน ลำปาง เวียงจันทน์ อีกส่วนหนึ่งอพยพเข้าอยู่ในสระบุ รีและราชบุรี เรียกตัวเองว่า "ไท-ยวน"
ปัจจุบันชาวไทยวนในสระบุรี สืบเชื้อสายกันมาถึง 5 ชั่วคน กระจายอยู่ในทุกอำเภอของสระบุรี อำเภอที่มีชาวไทยวนอาศัยอยู่มากที่สุด คือ อำเภอเสาไห้
อ.ทรงชัย วรรณกุล
รวมกลุ่มอนุรักษ์
หากใครได้ผ่านมาเมืองสระบุรีช่วงริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก กิโลเมตรที่3 บนถนนสายสระบุรี – ปากบาง บ้านโตนด จะพบว่าเป็นที่ตั้งของ "หอวัฒนธรรมพื้นบ้าน ไทยวน สระบุรี" ก่อตั้งขึ้นโดย อาจารย์ทรงชัย วรรณกุล ผู้มีเชื้อสายไทยวนสระบุรี เดิมท่านเป็นอาจารย์โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม ที่รับผิดชอบดูแลศูนย์วัฒนธรรมประจำจังหวัดสระบุรี ภายใต้ความร่วมมือกับสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ(สวช.) ปัจจุบันเป็นประธานชมรมไทยวน สระบุรี
หอวัฒนธรรมพื้นบ้าน ไทยวน สระบุรี แห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2536 โดยได้มีการรวมตัวกันในกลุ่มของชาวไทยวน ตั้งเป็นชมรมขึ้น โดยมีอาจารย์ทรงชัย เป็นประธานชมรม เรียกว่า ชมรมไทยวน สระบุรี
เด็กๆลูกหลานไทยวนกำลังเรียนฟ้อนเล็บ
ปัจจุบันชาวไทยวนจะแต่งกายอย่างเต็มยศเฉพาะในวันพิธีสำคัญๆ
ข้าวของเครื่องใช้เก่าแก่ที่ อ.ทรงชัย นำมาจัดแสดง
นอกจากนี้บริเวณท่าน้ำหน้าบ้านยังเป็นที่เก็บและจัดแสดงเรือชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ลุ่มน้ำป่าสักและภาคกลางกว่า 20 ลำ โดยใช้ชื่อว่า "พิพิธภัณฑ์เรือลุ่มน้ำป่าสัก"
สำหรับฝั่งตรงข้ามหอวัฒนธรรมฯที่มีเพียงถนนกั้นนั้น นอกจากอาจารย์จะใช้เป็นที่อยู่อาศัยเองแล้ว ยังใช้เป็นที่ตั้งของ "พิพิธภัณฑ์บ้านเขาแก้ว" อีกด้วย
สิ่งเร้าแห่งกาลเวลา
แม้ว่าจะอนุรักษ์ไว้อย่างดีเยี่ยมปานใดก็ตามแต่ หากก็ไม่อาจกั้นกระแสแห่งยุคเวลาได้ ณ จุดนี้อาจารย์ทรงชัยเองก็ยอมรับว่ากำแพงวัฒนธรรมได้ถูกทำลายไป
เรือนไทยถูกดัดแปลงเป็นโฮมสเตย์แบบเรียบง่าย
ที่มา นสพ ผู้จัดการ