มาตรวัดหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ (ไม่ว่าจะเป็น kB, MB หรือ GB ก็ตาม) เป็นการประยุกต์มาจากมาตรฐานของ SI Unit ซึ่งเป็นมาตรฐานการวัดระบบเมตริกที่พัฒนาขึ้นในครั้งแรกในทวีปยุโรป โดยมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Système International d’Unités ที่รู้จักกันในชื่อของ International System of Units ซึ่ง Kilo, Mega, Giga หรืออื่น ๆ เป็นคำนำหน้า (Prefix) ของมาตรวัดที่กำหนดขึ้นมา ต่อมานักคอมพิวเตอร์ได้นำมาใช้เป็นมาตรฐานในการวัดขนาดของหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ เพื่อกำหนดให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก
ซึ่งสามารถเทียบเป็นหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ได้ดังต่อไปนี้
YB = Yotta Byte = 10 ยกกำลัง 24 ไบท์ (เลขศูนย์ 24 ตัว)
ZB = Zetta Byte = 10 ยกกำลัง 21 ไบท์ (เลขศูนย์ 21 ตัว)
EB = Exa Byte = 10 ยกกำลัง 18 ไบท์ (เลขศูนย์ 18 ตัว)
PB = Peta Byte = 10 ยกกำลัง 15 ไบท์ (เลขศูนย์ 15 ตัว)
TB = Tela Byte = 10 ยกกำลัง 12 ไบท์ (เลขศูนย์ 12 ตัว)
GB = Giga Byte = 10 ยกกำลัง 9 ไบท์ (เลขศูนย์ 9 ตัว)
MB = Mega Byte = 10 ยกกำลัง 6 ไบท์ (เลขศูนย์ 6 ตัว)
kB = Kilo Byte = 10 ยกกำลัง 3 ไบท์ (เลขศูนย์ 3 ตัว)(kB ต้องเขียนด้วย k ตัวเล็ก ไม่ใช่ K ตัวใหญ่)
hB = Hecto Byte = 10 ยกกำลัง 2 ไบท์ (เลขศูนย์ 2 ตัว)
dB = Deca Byte = 10 ยกกำลัง 1 ไบท์ (เลขศูนย์ 1 ตัว)
ดังนั้น หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ที่มากกว่า TB (Tela Byte) ก็คือ PT หรือ Peta Byte นั่นเอง โดยที่ 1 Peta Byte มีขนาดเท่ากับ 1,000,000,000,000,000 Bytes (โดยประมาณ 1 พันล้านล้านไบท์) ซึ่งในอนาคต เราอาจจะมีโอกาสได้เห็นความจุในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่สูงถึงระดับ Peta Byte หรือ Exa Byte ก็ได้
อ้างอิง
ท่านอาจารย์ ปรมัตถ์ปัญปรัชญ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น